https://www.facebook.com/pmatHRsociety https://twitter.com/pmathrsociety https://www.youtube.com/user/PMATVideos http://line.me/ti/p/@pmat
7 สัญญาณเริ่มต้นที่บ่งบอกว่าเราต้องให้ความสำคัญกับการดูแลตนเอง
กลับš

 

7 สัญญาณเริ่มต้นที่บ่งบอกว่าเราต้องให้ความสำคัญกับการดูแลตนเอง

ความเครียดเป็นสิ่งที่พวกเราส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา เราต้องจัดการเวลาในการวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพ การติดต่อกับหัวหน้างาน และการทำให้ครอบครัวของเรามีความสุข เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังเผชิญกับความเครียดที่อาจจะเกิดเป็นปัญหาเชิงสุขภาพจิตได้ เป็นเรื่องปกติที่เราจะรู้สึกเครียดในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตามเราอาจคุ้นเคยกับความเครียด ความวิตกกังวลและเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและกิจวัตรประจำวันของเราอย่างที่เราไม่รู้ตัว การยอมรับว่าเราอาจจะกำลังประสบปัญหาทางสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตามมีสัญญาณหรือตัวบ่งชี้เริ่มต้นบางอย่างสามารถที่จะช่วยให้เราไตร่ตรองว่าเรากำลังมีปัญหาอยู่หรือไม่

1. รูปแบบการนอนหลับมีการเปลี่ยนแปลง

หากเราประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่น นอนไม่หลับ รู้สึกเหนื่อยเมื่อตื่นนอนในตอนเช้าหรือง่วงนอนตลอดทั้งวัน นั่นเป็นสัญญาณของปัญหาพื้นฐาน บางครั้งความเครียดอาจแสดงตัวออกมาในรูปแบบที่ไม่ชัดเจนดังนั้นหากจิตใจของเราไม่รู้สึกสงบ มันอาจเป็นไปได้ที่รูปแบบการนอนหลับของเราจะถูกรบกวน

2. ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง

เมื่อเรารู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล เราพบว่าตัวเองกำลังหาอาหารประเภทของหวานหรือของทอดใช่หรือไม่ หรือบางคนอาจจะไม่รู้สึกอยากอาหาร ความเครียดสามารถขัดขวางความอยากอาหารของเรา บางคนที่มีความเครียดมากๆ อาจจะทำให้รู้สึกรังเกียจอาหาร รูปแบบการรับประทานอาหารของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันหรือรุนแรง

3. อารมณ์ระเบิด

หากเราสังเกตว่าเราไม่สามารถควบคุมความโกรธของเราได้ มีการระเบิดอารมณ์บ่อยครั้ง การที่เรามีอารมณ์แปรปรวนและอารมณ์เสียมักจะบ่งบอกถึงความวิตกกังวล ความเครียดหรือความเหนื่อยล้า สิ่งนี้สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงานของเรา

4. รู้สึกไม่สนใจอะไร

เรารู้สึกราวกับว่าเราต้องพยายามลากตัวเองขึ้นมาจากเตียงเพื่อมาทำงานทุกวันหรือไม่ เรารู้สึกไม่มีแรงจูงใจในกิจกรรมที่เราเคยรู้สึกชอบหรือสนุกกับมันมาก่อน เราอาจจะต้องการการวิเคราะห์ตนเองและการดูแลตนเอง ใช้เวลาในการระบุสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่สนใจ

5. ตัดสินใจลำบาก

เมื่อเราอยู่ภายใต้ความเครียด ทำให้การตัดสินใจใด ๆ ก็ตามดูเหมือนเป็นการทดสอบขนาดใหญ่ หากเราพบว่ามันยากที่จะคิดอย่างมีเหตุผลหรือประเมินแง่มุมต่าง ๆ ของสถานการณ์ได้อย่างเพียงพอก่อนที่จะตัดสินใจ เราอาจต้องใช้เวลาสักครู่เพื่อไตร่ตรองสภาพจิตใจของเรา

6. รู้สึกไร้ค่า

หากเราพบว่าตัวเองมีการพูดคุยเชิงลบตลอดเวลา สิ่งนี้ถือเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญว่าคุณต้องการการดูแลตนเอง ความรู้สึกไม่เพียงพอหรือไร้ค่า สามารถนำไปสู่ความรู้สึกที่ล้มเหลวและทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า

7. รู้สึกไม่สบาย

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะพบอาการปวดหลังหรือปวดหัว อย่างไรก็ตามหากความเจ็บปวดเหล่านี้ไม่สามารถหาสาเหตุการเกิดได้ นั่นอาจจะเกิดจากความเครียดในระดับสูงของร่างกาย ร่างกายของเราตอบสนองต่อความเครียดในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นหากคุณประสบอาการปวดเมื่อยหรือแสดงอาการอื่น ๆ เช่นใจสั่นหรือเวียนศีรษะในช่วงเวลาที่เราเกิดความทุกข์ให้ถือว่าเป็นสัญญาณว่าเราต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของเรา




Source: editage